เนื่องด้วยวันอาทิตย์นี้ (พรุ่งนี้แล้ว)
iYummY gang ของเรา จะไปบุกเมืองสุพรรณฯ กัน
ที่คิดๆ ไว้ในหัวก็คือ สามชุกตลาดร้อยปี อันเลื่องชื่อ
แต่ละคนก็ยุ่งกับภารกิจ หน้าที่การงาน
ยังไม่ได้นัด
ไม่ได้หาข้อมูลกันเลย
ฮ่า..ฮ่า
นี่เป็นการค้นหาข้อมูลแบบดิบๆ เลย
ไม่เรียบเรียงแล้วกันนะ
เจอข้อมูลอะไรก็ใส่ไปเลยแล้วกัน
การเดินทาง
การเดินทางด้วยรถยนตร์ สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก
Google Maps
สามชุก (14.755441, 100.094225)
แผนที่สามชุกตลาดร้อยปี
เที่ยวตลาด
บ้านลิ่มเต๊กเซ้ง
เลขที่ 364 หมู่ 2 ซอย 3 บ้านลิ่มเต๊กเซ้ง เป็นบ้านเก็บสะสมของใช้ของป้าปุ๊ย มะลิวัลย์ สุวรรณ อายุ 70 ปี สิ่งของเหล่านี้เป็นของใช้มรดกตกทอด สมัยคุณแม่ และคุณยายของป้าปุ๊ย บ้างเป็นของที่เก็บสะสมของเจ้า ของบ้านเอง ประเภทเครื่องทองเหลือง เครื่องลงหิน และเครื่อง กระเบื้อง ได้แก่ขันลงหิน ถาดพานทองเหลือง ทัพพี เชิงเทียน ชุดเชี่ยนหมาก และ ถาดกระเบื้องเคลือบ
ร้านถ่ายภาพศิลป์ธรรมชาติ
เลขที่ 393 หมู่ 2 ซอย 3 ร้าน ถ่ายรูป ชื่อ “ร้านศิลป์ธรรมชาติ” เป็นร้านถ่ายรูป เก่าแก่แห่งที่ 2 ของตลาดสามชุก เปิดบริการมาเป็นเวลา กว่า 54 ปี แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ตั้งแต่สมัยคุณพ่อ
เจ้าของร้านคือคุณสุรีย์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ อายุ 54 ปี เล่าว่า คุณพ่อชื่อนายเต็กเหม็ง แซ่จัง ชาวจีนแต้จิ๋ว เกิดปี พ.ศ. 2462 เมื่ออายุได้ 18 ปี เดินทางมาจากเมืองซัวเถา ประเทศจีน มาฝึกงานร้านถ่ายรูปกับญาติที่มาเปิดร้าน ในเมืองไทย ที่จังหวัดลพบุรี จากนั้นย้ายมาอยู่ที่อำเภอ ชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ในปี พ.ศ. 2482 ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. 2486 ไปเป็นลูกจ้างถ่ายรูปร้านแชอา ตั้งอยู่ สามแยกวัดไตรมิตร หัวลำโพง คนจีนเรียกว่า วัดสามจีน กินเงินเดือน 600 บาท
ใน ปี พ.ศ. 2492 แต่งงานกับนางสาวหงึ่งหงษ์ แซ่เอี๊ยะ จากนั้นอีกหนึ่งปีถัดมาคือในปี พ.ศ. 2493 ย้ายมาที่อำเภอสามชุก เปิดร้านถ่ายรูปศิลป์ธรรมชาติ โดยเช่าบ้าน 2 ห้องเดือนละ 40 บาทต่อห้อง ตอนนั้นสามชุกยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เวลาถ่ายภาพต้องอาศัย แสงแดดช่วย
คุณสุรีย์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ ซึ่งเป็นลูกสาวคนโตรับช่วงกิจการต่อมาประมาณปี 2512 ทำเองทุกอย่าง ส่วนน้องๆศึกษาต่อและทำงานในกรุงเทพฯ ลูกๆ เป็นอาจารย์สอน ถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย กล้องที่ใช้ในปัจจุบันคือ กล้องที่ใช้เมื่อสมัยเปิดร้านครั้งแรก เป็นกล้องสมัยคุณพ่อซึ่งนำเข้ามาจากเยอรมัน ราคาประมาณ 8,000 บาท ในร้าน ยังคงใช้อุปกรณ์ดั้งเดิม
สมัยคุณพ่อไม่ว่าจะเป็นกล้องที่แต่งภาพ อุปกรณ์ในห้องมืดภายในเปิดเป็นสตูดิโอ มีฉากและเครื่องแต่งกายในอดีต นอกจากนี้ยังมีสิ่งของที่เพื่อนบ้านให้ในวัน เปิดร้าน คือ กระจกสำหรับลูกค้าใช้ส่องก่อนถ่ายรูปอีกด้วย
ร้านขายทองมีชัย
เลขที่ 286 หมู่ 2 ซอย 4 เดิมร้านทองมีชัยตั้งอยู่ที่ตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า ต่อมาตลาดซบเซา จึงย้ายมาขายที่ตลาดสามชุก นับเวลาเปิด ร้านมากว่าสิบปีแล้ว สิ่งของสะสมในร้านประเภทเครื่องใช้ของคนจีน เครื่องถ้วย ลายคราม จานลายเขียนสี เครื่องเงิน ชุดน้ำชา ปั้นชา ฯลฯ สะท้อนรสนิยมความเป็นคนจีนสมัยพ่อสาม ีของคุณอัญชุลี หอมทอง ซึ่งบรรพบุรุษของตระกูลนี้
เครื่องถ้วยจีน ประกอบด้วย ถ้วยจาน ลายคราม ลายเขียน สีแบบจีน,ไหและโถลายคราม, ไห ดินเผาเคลือบสีเขียว, กาน้ำชา, อับใส่ชา,ปั้นชา,และขวดใส่เหล้า
เครื่องเงิน ประกอบด้วย ชุดเชี่ยนหมาก, พานทำจากเงิน ฉลุลาย, กระเช้าใส่ของ,กระเป๋าเงิน,กระเช้าใส่แก้ว, ชุดสูบบุหรี่ ทำจากเงินทั้งชุด ประกอบด้วย ที่ใส่บุหรี่ ที่เขี่ยบุหรี่ และที่วางไฟแช็ก วางบนถาด ลายฉลุ และชุดโต๊ะ เก้าอี้ขนาดเล็ก
ฮกอันโอสถ ร้านขายยาคนจีนเก่าแก่
เลขที่ 319 หมู่ 2 ซอย 3 กว่าจะเป็นฮกอัน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เมื่อประมาณ 70 กว่าปีมาแล้ว นายเสี่ยง แซ่เตีย หมอยาจีนชาวแต้จิ๋ว ล่องเรืออพยพจากเมืองจีนแผ่นดิน ใหญ่ เข้ามาทำมาหากินอยู่ที่บ้านแพน คลองเจ้าเจ็ด พระนครศรีอยุธยา ไม่นานนักก็ล่องเรือตามแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเปิดร้าน “ฮกอันโอสถสถาน” ขายยา ในตลาดสามชุก นายเสี่ยงเป็นทั้งหมอยาจีน และยาไทย มีภรรยาชื่อ ม่าป๋อจู แซ่อึ๊ง
บรรยากาศภายในร้านอบอวล ด้วยยาโอสถสมุนไพร นับพันๆ ชนิด มีดหั่นยาโบราณเครื่อง ชั่ง ลิ้นชักใส่ยา ลูกคิดและครกตำยา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือตั้งแต่สมัยคุณพ่อ
ลูกสาวของนายเสี่ยง คือคุณสุนิภา เหลืองศรีดี (เล็ก) เกิดที่สามชุก เรียนที่โรงเรียนนิกรนรราษฎร์ศึกษาลัยและ
โรงเรียนสามชุก เป็นผู้ที่มีความรู้สืบทอดตำรายาไทยโบราณจากคุณพ่อ อาศัยการคัดลอกตำราตัวยาต่างๆ ใช้
การท่องจำและความชำนาญในการจัดยาตามตำราและใบ สั่งยาแพทย์โบราณที่สั่งสมมาในชีวิต ขณะเดียวกันก็ปรับตัวเข้ากับการรักษาของแพทย์สมัยใหม่ มีดหั่นยาสมุนไพร อายุกว่า 70 ปี
บ้านของเก่า “ไฟศาลสมบัติ”
ร้านไพศาลสมบัติ ของใช้และของสะสมสมัยคุณพ่อ ห้องเก็บของเก่านี้ห้องนี้มีความหมายต่อทายาท คือ ร้านอำพร เพชร เลขที่ 300 หมู่ 2 ซอย 4 อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้า ตะเกียงน้ำมัน กระติกน้ำ เตารีด อุปกรณ์การชงกาแฟ เครื่องเล่นแผ่นเสียง กล่องใส่ของ และตู้เก็บสะสมเงิน ที่ใน ปัจจุบันเราเรียกว่าของเก่า
เจ้าของร้านอำพรเพชร คือ คุณจินดา พรหมโชติ อายุ 47 ปี เป็นผู้ดูแล เล่าว่าเดิมเป็นของใช้ของสะสมสมัยเตี่ยคือ นายบุก หรือ ฝุก แซ่เล้า(พรหมโชติ)เป็นเจ้าของร้านไพศาลสมบัติ พื้นเพเดิมสมัยก๋ง (ตา) พ่อของพ่อ มาจากเมืองจีน แล้วมาตั้ง รกรากอยู่ที่เดิมบางนางบวช เตี่ยจึงเกิดที่นั่นต่อมาก็ย้ายมาหา กินที่ตลาดสามชุก ครั้งแรกมาเปิดร้านอาหาร ขายกาแฟที่ห้อง แถวริมน้ำ ขายดีมากเพราะเมื่อก่อนมีท่าเรือ ผู้คนพลุกพล่าน มาก
เตี่ย เป็นคนชอบฟังเพลงมากก็เลยเปิดเพลง ลูกค้าก็ชอบ มานั่ง กินกาแฟริมแม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะเรือขนส่งหรือ พวกเซลล ์แมน ก็จะมานั่งกินกาแฟ เรือสารพัดไม่ว่า จะเป็นเรือคอลเกตเรือของโอวัลติน ยาบริษัทดีทแฮม ก็มาเรือยนตร์ทั้งนั้นพูดเรื่อง ยาแต่ก่อนจะมีหนังขายยา ขึ้นมาในตลาด ก็จะมีคนมาขายอ้อย ควั่น น้ำหวาน ข้าวโพดคั่ว และปลาหมึกปิ้ง เป็นเครื่องให้ความ บันเทิงแก่คนในอำเภอสามชุกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
นาย บุกเป็นคนค้าขายเลยเก็บของเอาไว้ แม้ต่อมาจะเลิก ขาย กาแฟริมน้ำไปแล้ว ป้ายโฆษณาเก่าๆ ก็ไม่ได้ทิ้งลูก หลานจึงเก็บ ไว้เป็นเรื่องราวความทรงจำของครอบครัว เช่นเดียวกับภาพถ่าย เก่าที่บันทึกเอาไว้
ร้านขายของชำป้านา
เลขที่ 417 หมู่ 2 ซอย 3 เจ้าของบ้าน คือ ป้าสันทนา ลอยจินดารัตน์ อายุ 63 ปี เป็นร้านขายของชำ ของกินของทำขนมแป้ง ข้าว น้ำตาล และเครื่องเทศต่างๆ ป้านาเป็นหลานสาวของ เถ้าแก่เนี้ยม แซ่โค้ว กับคุณยายแห้วระวิพงษ์ เจ้าของตลาดสามชุกซอยนี้ ภายในร้านมีสิ่งของที่น่าสนใจคือเครื่องทองเหลือง ได้แก่ ถาด ขันและพานเก็บรักษาไว้ในตู้ไม้สักเก่าแก่อายุร่วม ร้อยปี เป็นเครื่องใช้สำคัญกับวิถีชีวิตคนไทยในอดีต มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะเดิมเป็นของใช้สมัยคุณแม่ป้านา ซึ่งบางชิ้นเป็นของตกทอด ที่ได้รับมาจากคุณยายแห้วอีกต่อหนึ่ง สิ่งของ ของเหล่า นี้มีคุณค่าทางจิตใจของลูกหลานมาก เพราะเป็นของที่บรรพบุรุษมอบให้ลูกหลานเพื่อเก็บรักษา สะท้อนความ รักความผูกพันระหว่างแม่ที่มีต่อลูกสาว
เครื่องลงหิน
ภาชนะ เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยนำมาหลอมเข้าด้วยกันแล้วเทลงในแม่พิมพ์ เพื่อให้เป็นรูปโกลนของสิ่งนั้นๆ
แล้วนำไปเผาไฟให้แดง ตีให้เป็นรูปตามต้องการ เมื่อเย็นแล้วขัดด้วยหินหรือลงหินให้
เรียบและขึ้นเงาปัจจุบัน ยังมีการทำเครื่องลงหินที่บ้านบุ ริมคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เครื่องลงหินนิยมทำเป็นภาชนะประเภทขัน ขันน้ำ พานรอง จอก กระโถน ทัพพี ช้อนและส้อม เป็นต้น
ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองเก่าตรงข้ามวัดสามชุก (เหล่าปึงเถ่ากง)
สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2370 ต่อมา ได้สร้างที่ตลาด สามชุกใหม่โดยบุคคลที่มีบทบาทต่อชุมชน และเจ้าของ ผู้ก่อสร้างตลาดสามชุก ได้แก่ ขุนจำนงค์จีนารักษ์ เจ้าของ ตลาด ซอย 2 และริมน้ำบางส่วน เถ้าแก่เบี้ยว แซ่เจ็ง เจ้าของตลาดซอย 1 และห้องแถวริมน้ำ และเถ้าแก่เนี้ยม แซ่โค้ว เจ้าของตลาดซอย 3-4 สามีของยายแห้ว ระวิพงษ์ เป็นผู้ริเริ่มอัญเชิญเถ้าธูปจากศาลเจ้าพ่อสุพรรณบุรี มาใส่กระถางธูปใหม่ ดำเนินการด้วยวิธีโบราณเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 มีภาษาจีนเรียกว่า “เจี๊ยปึงเถ่ากง” หน้าศาลเจ้าต่อมาเป็นท่าเรือบริษัท ผู้เดินทางทางเรือผ่านไปมาได้มากราบไหว้ขอพรให้เจริญรุ่งเรือง เดินทางโดยปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุข ซื้อง่ายขายคล่องเป็นที่สักการบูชามาจนถึงปัจจุบัน
ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือทางขึ้นตลาดซอย 2 หน้าศาลเจ้า มีโคมไฟ ประจำศาลเจ้า เรียกว่า “ที้ ตี่ เต็ง” ใช้นำทางในขบวน ที่มีพิธีการแห่ เช่น งานงิ้ว เป็นต้น
ในศาลเจ้ายังมีเครื่องเสี่ยงทายและทำนายหลายอย่าง ได้แก่ ป่วยและกระบอกเสี่ยงเซียมซี ป่วย เป็น
ไม้ประกบคู่ ถ้าเป็นเรื่องดีป่วยจะแสดงคู่ตรงกันข้าม คือ คว่ำอัน หงายอัน กระบอกเสี่ยงเซียมซีเป็นเครื่องทำนาย
ดวงชะตาตามความเชื่อของคนจีน
ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองสามชุกมีการจัดงานปีละ 2 ครั้ง คืองานปลายปีในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จะเป็นวันแก้บน และครั้งที่สองจะจัดในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นงิ้วประจำปี ตรงข้ามศาลเจ้าเป็นที่ตั้งปะรำสำหรับไหว้เจ้าที่ ใช้ธูป 3 ดอก ตรงนี้มีป้ายผ้าเขียนคำว่า “ที้ ตี้ แป่ ป้อ” ความหมายคือ ให้รู้จักเคารพฟ้าดิน พ่อแม่ ใกล้ๆ กันมีที่เผากระดาษเงินกระดาษทอง ให้บรรพบุรุษแสดงความกตัญญู
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ (ซ.2)
ขุนจำนงจีนารักษ์ นามเดิมว่า หุย แซ่เฮง เป็นคนจีนเกิดใน ประเทศไทย ใกล้วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ประกอบอาชีพค้าขาย มีโรงเหล้า และโรงยาฝิ่น เมื่อเยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศจีน กลับมาเมืองไทยเมื่ออายุ 20 กว่าปี ต่อมาได้สมรสกับคุณกุ้ยเอง แซ่เจ็ง เป็นคน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
1. นายโต้วซ้ง(บุญส่ง) จีนารักษ์ ปัจจุบันถึงแก่กรรม
2. นายติ้งซ้ง จีนารักษ์ ปัจจุบันถึงแก่กรรม
3. นางซิ้วลั้ง จีนารักษ์
ต่อมาได้เช่าที่ราชพัสดุปลูกบ้าน 3 ชั้น (คอนกรีตเสริมเหล็ก)ใน พ.ศ.2459 กิจการค้าขายของท่านเจริญรุ่งเรืองไปถึง 6 อำเภอ ท่านจึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ประกอบกับท่านเป็น
คนดีมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงได้เป็นผู้นำชุมชน คุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนจำนงจีนารักษ์ ตำแหน่งกรรมการพิเศษจังหวัดสุพรรณบุรี
นายอากรสุรา-ฝิ่น ศักดินา 400 ไร่ จากพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2474
เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิกการสูบฝิ่น ท่านจึงหันมาทำสวนทำไร่ และเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 83 ปี
บ้านของท่านในส่วนของ คุณเคียวยี้ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนาย โต้วซ้ง จีนารักษ์ อนุญาติให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยใช้ชื่อ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของโบราณ สำหรับผู้ที่สนใจเข้า ชมเพื่อศึกษาหาความรู้มาจนถึงปัจจุบันนี้
ร้านกาแฟท่าเรือส่ง (ศิวะนันต์พานิช)
เลขที่ 1 ซอย 1 เจ๊ชั่ง ศิวะนันต์วงษ์ อายุ 67 ปี และเจ๊ม่วยเล็ก ศิวะนันต์วงษ์ อายุ 51 ปี เจ้าของร้านเล่าว่า มีพี่น้อง 10 คน สมัยเตี่ยคือนายหล่งเสี่ย แซ่ตัน ชาวจีนแคระมาทำการค้าที่ตลาดสามชุก ต้องคั่วกาแฟเอง ใช้กาแฟหลายอย่าง เช่น อาราบิก้า โรบัสต้า จากกรุงเทพฯ สูตรกาแฟโบราณ ที่ยังใช้เครื่องคั่วกาแฟ แบบดั้งเดิม เดิมมีร้านกาแฟอยู่ที่ท่าเรือส่ง ขายดี ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางเรือเลิกไป จึงมาเปิดขายที่ร้านของ น้องชายคนที่ 3 ซึ่งเปิดร้านก่อสร้าง ชื่อศิวะนันต์พานิช ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2508 สมัยนายอำเภอสมพร ในเดือนเดียวกับที่มีการเปิดใช้สะพาน พรประชา ขาย ตั้งแต่ราคาสามสตางค์ ห้าสตางค์ ตอนนี้ราคา 7-10 บาท ร้านเปิดตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น วันหนึ่งๆ เปลี่ยน
คนชงสามกะผลัดกันดูแลร้าน เจ๊ชั่ง ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการชงกาแฟ มีความคล่องแคล่วมาก ชงให้กับลูกค้าที่แวะเวียนมาที่นี่ทุกวัน เรียกได้ว่า ร้านนี้เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุย ของชาวตลาดก็ว่าได้
ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมานานของเจ๊ชั่ง และรสชาติที่ยังคงเอกลักษณ์มาช้านาน จึงทำให้ร้านกาแฟโบราณ ยืนหยัด และ
คงคู่ตลาดสามชุก มาจนถึงปัจจุบัน
อาชีพขายกาแฟ เป็นอาชีพที่สืบต่อกันมาเป็นเวลากว่าร้อยปี เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนสามารถเรียน จบมาหลายคนแล้ว ที่สำคัญ ลูกหลานที่ เรียนจบทุกคนมีงานทำแต่ไม่ลืมที่จะมา ช่วยที่ร้านทุกวันเสาร์-อาทิตย์
บุญช่วยหัตถกิจ
ร้านนาฬิกาโบราณ ซอย 1
ณ ซอย 1 เป็นแหล่งรวมร้านขายนาฬิกาหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็นบุญช่วยหัตถกิจ ศรีพุท?ทอง และร้านรัชพรล้วนเป็นร้านเก่าแก่ทั้งนั้น หลายคนที่ชอบนาฬิกาคลาสสิก ลองแวะเวียนมาหาซื้อได้ในราคาไม่แพง ทั้งนาฬิกาแบบเก่าและแบบใหม่ อย่างร้านบุญช่วยหัตถกิจแห่งนี้ เปิดขายมานาน หลายสิบปี
ป้าเจ้าของร้านใจดีเล่าว่า ที่ขายดีก็เพราะ ป้ายชื่อร้าน “บุญช่วยหัตถกิจ” ความภูมิใจของเจ้าของร้าน นาฬิกาใน ตลาดสามชุกอีกอย่างคือ สามารถประกอบอาชีพขายนาฬิกาส่ง ลูกๆ เรียนหนังสือจนจบการศึกษา มีงานทำดีกันทุกคน
โรงแรมอุดมโชค (ซ.2)
ตั้งอยู่ เลขที่ 47 หมู่ 2 ซอย 2 เจ้าของคนปัจจุบันคือ แปะซิม พิศิษฎ์ สิริภิญโญ อายุ 85 ปี และภรรยา คือ คุณทองพูน วงษ์ราย อายุ 44 ปี
ในสมัยก่อน แต่ละวันจะมีเรือสินค้ามาจอดเทียบท่าตลาด สามชุกจำนวนมาก การค้าคึกคักอย่างเช่น เรือสินค้าของ บริษัทสุพรรณขนส่ง จำกัด แต่สมัยนั้นยังไม่มีที่พัก จึงมีการ ดัดแปลงบ้าน ห้องแถวเปิดเป็นโรงแรม มี “โรงแรมสำราญรมย์” ของลุงสำราญ กลิ่นหอมหวล เป็น โรงแรมแห่งแรกของตลาดสามชุก ต่อมาก็มี “โรงแรมอุดมโชค” เป็นแห่งที่สอง
ประวัติความเป็นมาของโรงแรมอุดมโชค
เปิดบริการมาตั้งแต่สมัยเตี่ยของแปะซิมแล้ว เตี่ยของแปะ ซิม เดินทางมาจากเมืองจีน รุ่นเตี่ยมาอยู่ที่สามชุก แปะซิม เป็นชาวจีนแต้จิ๋วผสมจีนแคระ แต่เดิมโรงแรมนี้มีคน เดินทางมาพักมาก คนเต็มเกือบทุกห้อง เพราะสมัยก่อน
ต้องอาศัยการเดินทางที่ใช้เวลา ส่วนใหญ่คนที่จะมาพัก เป็นเซลล์ขายของต่างจังหวัด คนทางใต้ที่เดินทาง มาทำงานแถบนี้
โรงแรมอุดมโชคเป็นโรงแรมเก่าแก่ ลักษณะเป็น อาคารไม้สองชั้น กั้นห้องออกเป็น 12 ห้อง เปิดใช้อยู่ 6 ห้อง
เนื่องจากบางห้องไม่มีห้องน้ำในตัว ปัจจุบัน โรงแรมแห่งนี้ ไม่ได้เปิดบริการแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นร้านกาแฟ มีงานศิลปะ ให้ชมกัน มีภาพวาดของศิลปิน
ความภูมิใจของแปะซิมอยู่ที่การดูแล
โรงแรมเก่าแก่สมัยเตี่ยสร้างเอาไว้
ร้านนาฬิกาโบราณ (ซ.1)
“ร้านรัชพร” ขายนาฬิกาโบราณ เลขที่ 27 ซอย 1
รัชพร ร้านนี้เป็น+ห้องตัวเองเช่าที่ของราษฎร์พัสดุเจ้าของร้านคือลุงไพรัช อานมณี เล่าว่าเปิดขายนาฬิกาในซอย 1 ได้ประมาณ 50 กว่าปีแล้ว ร้านรัชพร ขายนาฬิกาหลายยี่ห้อ ส่วนมากเป็นนาฬิกาโบราณและสมัยใหม่หลายรุ่น
ทั้งตัวเรือนแบบไทยและต่างประเทศ
ในร้านยังเก็บนาฬิกาซึ่งเป็นของคลาสสิก สมัยคุณพ่อคุณแม่ นาฬิกาเก่าแก่เรือน นี้ อายุประมาณ 80 กว่าปี เรียกว่านาฬิกาลอนดอนระฆัง ยี่ห้อสิงโต ผลิตใน ประเทศเยอรมนี มีระฆังด้านบน มีตุ้มแกว่ง หน้าปัดทำจากกระเบื้อง ระฆังของ ยี่ห้อสิงโตนี้ มีความโดดเด่นตรงที่ เวลาตีบอกเวลาเสียงจะดังกังวานมาก
คูเซ่งฮวด หรือ ร้านนายไผ่
เลขที่ 242 หมู่ 2 ซอย 3
เป็นร้านขายของใช้และสินค้าไทยๆ คูหาตรงข้ามเรียกร้านนายไผ่ ขายพวกถ้วยชาม เครื่องใช้ในครัว ตะเกียงทำด้วยกระป๋องนม ตะเกียง โป๊ะ บัวรดน้ำ โหลแก้วใส่ของขายของมานานหลายสิบปีแล้ว เจ้าของร้านคือ คุณลุงสุวรรณ คูหาพัฒนกุล อายุ 65 ปี เล่าว่าร้านนี้เปิดตั้งแต่สมัยเตี่ยซึ่งเป็นคนจีน ขายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องครัว และอุปกรณ์การเกษตรยังเก็บตะเกียงลาน เตารีดถ่าน รถเข็นไม้ซึ่งเป็นของใช้ในบ้านอยู่ และยังเก็บขวดนมเด็กสมัยก่อนทำจากแก้วเอาไว้อีกด้วย
ทำกระดุมด้วยมือ งานฝีมือที่ร้านหยอง
ร้านหยองตั้งอยู่เลขที่ 217 หมู่ 2 ซอย 8 ป้าหยอง หรือ สิริ สรรพคุณานนท์ (แซ่คู) อายุ 55 ปี เรียนจบช่างตัดเสื้อผ้า เปิดร้านตัดเสื้อ และรับทำกระดุมมานานพอควร ในร้านยังมีจักรเย็บผ้ารุ่นเก่าใช้งานได้อยู่
กล่าวถึงการทำกระดุม ในสมัยก่อนกระดุมสำเร็จรูปไม่มี ต้องสั่งทำ คนจึงนิยมทำกระดุมมาก เพราะต้องใช้กระดุม ที่เข้ากับชุดได้ เป็นกระดุมที่ลูกค้าอยากให้เหมือน กับตัวผ้า ถือเป็นของแพงอีกด้วย และเหตุเพราะ ร้านรับ ทำกระดุมหายาก อาศัยการบอกกันปากต่อปาก คนจาก ต่างถิ่นจึงมาที่ตลาดสามชุก ต่อมาก็รับทำกรอบพระเลี่ยมทอง เอาข้าวสารมาขายด้วยความที่ เป็นคนเก็บของใช้ ที่มีความประทับใจ ภายในร้านหยอง จึงมีตู้สะสม ของเก่า เก็บไว้โชว์หน้าร้าน เป็นของที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน และของรักของหวงก็คือ กล้องถ่ายรูปจิ๋ว และซออู้ ป้าหยองเป็นคนชอบเล่นดนตรี ยามว่างจากการตัดเย็บ สามารถเล่นกีตาร์คลาสสิก
ร้านทำเคียวตรา “ ซ 3 ” ในตลาดสามชุก ซอย 6
ร้านทำเคียวนี้ ชื่อว่า “ร้าน ซ.เจริญ” ตั้งอยู่เลขที่ 885/8 ซอย 6 เจ้าของร้านคือ ลุงเต็กเซ็ง เจริญจามีกรอายุ70 ปี เล่าว่า เมื่อก่อนเตี่ยเป็นชาวจีนไหหลำ อพยพมาจากเมืองจีนแล้ว มาอยู่ที่บ้านสีกุก จ.พระนครศรีอยุธยา ลุงเต็กเซ้งมีพี่ชาย เป็นช่างตีมีดทำเคียวอยู่ที่บ้านแพน แถวอำเภอเสนา ลุงจึงหัด ทำตั้งแต่อายุ 15-16 ปี
หลังจากนั้นได้ย้ายมาเปิดร้านทำเคียวที่ตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 นับถึงตอนนี้ก็ 25 ปีแล้ว ลุงเต็กเซ็งจึงเป็นคนเดียวที่แยกมาตีเหล็กที่สามชุก พี่น้องอยู่ที่อยุธยาหมด สมัยก่อนในที่ราบลุ่มภาคกลางมีร้านตีเคียวเยอะ เพราะเป็นเครื่องมือในการทำนา ก่อนที่จะมีรถเกี่ยวข้าว แหล่งผลิตเคียวจึงมีมาก ปีหนึ่งจะตีหลายหมื่นเล่ม ผานไถนาก็เคยทำ มีดเหน็บที่เราใช้ทั่วไปก็ทำ ถึงตอนนี้ ราคาตกประมาณ อันละ 200 ลุงเต็กเซ็งกล่าวว่า การทำเคียวเกี่ยวข้าวในยุคปัจจุบันแทบหาไม่ได้แล้ว เพราะคนไม่นิยมเหมือนแต่ก่อน แต่ยังนิยมใช้อยู่บ้างทางแถบภาคอีสาน ส่วนมีดก็รับเขามาขายเพราะคุ้มกว่าตีเองและตัวเองก็อายุมากแล้ว
กรรมวิธีการผลิตเคียว
เคียว เป็นเครื่องมือสำหรับเกี่ยวข้าว หรือหญ้า ทำด้วยเหล็กแบนโค้งอย่างคอนกกระยางมีด้ามเป็นปล้องกลม คมเคียวคล้ายใบมีดจะ
แตกต่างกันออกไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น เช่น บางถิ่นคอเคียวโค้งยาวมากบางถิ่นอาจเป็นเคียวคอสั้นและเล็ก
ในสมัยก่อนต้องตีเหล็กเองโดยการนำเหล็กกล้าเข้าเตาเผา จากนั้นนำมาตี ขึ้นรูป โดยใช้คนตีถึงสามคน ด้วยค้อนอันใหญ่ เหมือนที่บ้านอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่างจากปัจจุบันตอนนี้ที่ร้านรับเหล็กจากโรงงานที่หล่อ ขึ้นรูปมาแล้วจากหมู่บ้านร่องฝ่องตำบลทุ่งฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่จากนั้นนำมาตีและใช้เครื่องเจียแต่งคมของใบเคียวเอง การเผาเหล็กจะต้องใช้เชื้อเพลิงเผาจากถ่านต้น ไผ่เท่านั้นจะใช้ไม้อื่นไม่ได้เพราะให้ความร้อนสูง และถ่านแตกเวลาเผาเหล็ก ซื้อแถววัดสิงห์เลยไปทางชัยนาทกระสอบหนึ่งราคาประมาณ 150 บาท เผาสักพักในเตาจากนั้นก็นำมา แช่น้ำเย็นเพื่อให้เหล็กยืดตัวตีให้เป็นทรง นำมาเจียด้วยเครื่องจักร
ร้านค้าแนะนำ
เป็ดย่าง “จ่าเฉิด” (ซ.1)
เป็ดย่างสูตรดั้งเดิมเนื้อไม่เหนี่ยว พร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด จะทานเป็นกับข้าว หรือไปทำแกงเผ็ดเป็ดก็ได้ตามใจชอบ ราคาคุ้มค่า วางขายอยู่ทางเข้าสามชุกตลาดร้อยปี เริ่มวางขายเวลาบ่ายโมงเป็นต้นไป
ร้านกาแฟท่าเรือส่ง (ซ.1)
ร้านนี้พลาดไม่ได้ กาแฟสูตรโบราญ, โอเลี้ยง, ชาเย็น อร่อยทั้งนั้น ข้อสำคัญร้านนี้คั่วกาแฟเอง สูตรลับเฉพาะคั่วกันเห็น ๆ บริเวณริมน้ำ บรรยากาศภายในร้าน ท่านจะได้ชมสภากาแฟตัวจริงและวิถีชีวิต ชาวตลาดได้เต็มอิ่ม เปิดขายกันแตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงเย็น เครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อของร้านนี้คือ “จ้ำบะ” ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปากของชาวตลาด ถ้าท่านอยากรู้ว่ารสชาด ของ “จ้ำบะ” เป็นยังไงต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเองครับ ที่ ร้านกาแฟท่าเรือส่ง “เจ๊หมวยเล็ก”
ร้านถ่ายรูป “ศิลป์ธรรมชาติ”
ร้าน ถ่ายรูป ชื่อ “ร้านศิลป์ธรรมชาติ” เป็นร้านถ่ายรูป เก่าแก่แห่งที่ 2 ของตลาดสามชุก เปิดบริการมาเป็นเวลา กว่า 54 ปี แล้ว โดยภายในร้าน ไม่มีเครื่องอัดภาพด้วยระบบดิจิตอล อันทันสมัยเหมือนปัจจุบัน ขณะนี้ คุณสุรีย์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์รับช่วงกิจการแทนเตี่ย ซึ่งกล้องที่ใช้ตอนนี้คือกล้องที่ใช้เมื่อสมัยเปิดครั้งแรก เป็นกล้องสมัคยเตี่ยนำเข้ามาจากเยอรมัน ราคาประมาณ ๘๐๐๐ บาท ในร้านยังคงใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมสมัยเตี่ยไม่ว่าจะเป็นกล้องที่แต่งภาพ อุปกรณ์ในห้องมืดในสตูดิโอ มีฉากและเครื่องแต่งการในอดีต ร้านถ่ายภาพ “ศิลป์ธรรมชาติ” เปิดทุกวัน ยกเว้น วันอาทิตย์ ปิดร้านคริ่งวันเช้า
ร้านค้าในตลาดสามชุก
ทองม้วนโบราณ เจ๊แป๊ด
สูตรพิเศษทำจากแป้งข้าวจ้าว ทำให้กรอบทนนาน อยู่ได้หลายวัน รสชาติเค็ม หวาน อยู่ในตัว โดยใส่ นำตาล เกลือ มะพร้าว
ร้านป้าทุมใจดี
ขนมก้อก้วยโบราญ ปัจุบันหารับประทานได้ยาก ทำจากแป้งข้าวเจ้า (อย่างดี) อร่อย สะอาด เจ้าเดียวของสามชุก ร้านนี้ตั้งอยู่เยื้องศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อ.สามชุก เปิดขายตั้งแต่เวลา 10.00 – 15.00 น.
ร้านเจ๊รวง
อิ่วก้วยขนมโบราณต้นตำหรับจากจีน ออกรายการตำหรับทองมาแล้ว มีขายเฉพาะวันหยุด และป่อเปี๊ยสมุนไพรซึ่งทำมาจากใบเตย แครอท และงาดำ ดีต่อสุขภาพ อร่อย มีขายทุกวัน ตั้งอยู่ในตลาดเก้าแก่เบี้ยว เปิดขายตั้งแต่ 08.00 – 18.00 น.
ซ้งอาหาร (เจ้าเก่า)
ข้าวกุ้งอบใบตอง ใส่กุ้งสด เม็ดบัว เห็ดหอมและแห้ว , หอยเนื้อปู ใส่หมู ปูและแห้ว จำหน่ายเฉพาะวันหยุด ตั้งแต่เ่วลา 08.00 – 17.00 น.
เจ๊ตี๋ เป็ดพะโล้ เป็ดย่าง สูตรใหหลำ
เป็ดพะโล้ เป็ดย่าง สูตรใหหลำแท้ เนื้อนุ่ม หอม กรอบ พร้อมน้ำจิ้มสูตรเด็ด 4 รสชาติ เข้มข้น ใช้ผลิตภัณฑ์สด ใหม่ และเครื่องปรุงสมุนไพรจีนคุณภาพดี เตี่ยบุ่นผู่ แซ่ตั้ง ต้นตำหรับมาจากเมืองจีน เกาะใหหลำที่ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติเป็ดพะโล้ ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2499 ปัจจุบันสืบทอดโดยเจ๊ตี๋ รับประกันความอร่อย ถูกปาก และราคาไม่แพง
เจ้เทือง
ร้านนี้ขายข้าวแกง อยู่คู่กับตลาดสามชุกมามากกว่า 10 ปี มีกับข้าวอาหารไทยมากกว่า 10 ชนิด โดยเฉพาะ แพนงซี่โครงหมู และ หมี่กรอบทรงเครื่อง ขายทุกวัน ตั้งแต่ 14.00 – 18.00 น.
เจ๊เข่ง ขนมไข่
ขนมไข่สูตรดั้งเดิม จากแม่ มากกว่า 50 ปี นอกจากนี้ ร้านนี้ ยังมีของจี๋วจำหน่ายอีกด้วย ร้านนี้ตั้งเลยศาลเจ้าพ่อประมาณ 2 ห้อง ขายเฉพาะวันหยุด ตั้งแต่ 09.00 – 13.00 น.
เก่ง (ข้าวเกรียบโบราณ)
จำหน่ายข้าวเกรียบโบราญ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น.
ปลาสลิด “พี่จิต”
ปลาสลิดแดดเดียวคุณภาพดี กลิ่นหอม นำปลาสะอาดมาชุบในน้ำเกลือแล้วตากแดด ร้านนี้ไม่ได้ใช้เกลือทาแล้วตากแดดเหมือนที่อื่น เวลาท่านซื้อกลับบ้าน จะใช้ผิวมะกรูดดับกลิ่นปลาและห่อให้อย่างดี รับรองไม่ผิดหวัง
ข้าวห่อใบบัว “ร้านหรั่งศรีโรจน์”
ข้าวห่อใบบัวสูตรดั่งเดิม ปัจจุบันหาทานได้ยากเต็มที คัดสรรข้าวหอมมะลิอย่างพิถีพิถัน พร้อมเครื่องปรุงสูตรดั่งเดิม ร้านนี้อยู่บริเวณตีนสะพาน “พรประชา” นอกจากข้าวห่อใบบัวแล้ว ยังมีก๋วยเตี๋ยวยำบก สำหรับผู้ที่รักสุขภาพด้วย
น้ำพริก “แม่กิมลั้ง”
ใครชอบทานน้ำพริกต้องอย่าพลาดเป็นอันขาด เครื่องปรุงได้ผ่านการคัดสรรเป็นอย่างดี ไม่ว่าหอม กระเทียม พริกต่างๆ นำมาปรุง เป็นน้ำพริกชนิดต่างๆ ให้ได้เลือกซื้อกันตามชอบ หรือใครชอบขนมกง ขนมไทยดั้งเดิมก้สามารถซื้อในร้านนี้ได้เช่นกัน
บะหมี่ “เจ็กอ้าว”
เป็นร้านบะหมี่ที่ทำเส้นบะหมี่, หมูแดง, เครื่องส่วนผสมเอง เปิดมานานกว่า 70 ปี อร่อยทั้งบะหมี่ เกี้ยวหมูสูตรเด็ดและเส้นเล็กเหนี่ยวนุ่ม ใครไป ใครมาก็ต้องแวะชิม ร้านนี้อยู่ถนนเลียบนที ตลาดสามชุกบริเวณริมน้ำ ใกล้ ๆ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ เปิดเวลา แปดโมงเช้าถึงห้าดมงเย็น
ขนมกุยช่าย “ร้านตวงทอง”
ขนมกุยช่ายโบราญ ร้าน “ตวงทอง” กลิ่นหอมอร่อย ปั้นกันเห็น ๆ มี 2 ไส้ด้วยกัน คือ กุยช่าย และ มันแกวด้วยกัน ร้านนี้ตั้งอยู่ในซอย 1 เปิดขายเฉพาะวันหยุดเท่านั้น
ข้อมูลปึ้กๆ จาก www.samchuk.in.th
Note: สำหรับวันหยุด ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก อาจพบปัญหาไม่มีที่จอดรถบริเวณตลาดได้ แผนที่แสดงจุดจอดรถรอบนอก ที่สะดวกในการท่องเที่ยวในตลาดได้
เพิ่มเติม
เที่ยวบึงฉวาก
ที่บึงฉวากมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ไม่ได้มีแต่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำอย่างที่รู้จักกันเท่านั้น แต่ยังมีทั้งอุทยานผักพื้นบ้าน กับสวนสัตว์ขนาดย่อม มีกรงนกใหญ่ที่เลี้ยงนกไว้ในสภาพธรรมชาติ และให้เราเข้าไปเดินชมกันในกรงเลย
บัตรเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท ส่วนนักเรียน / นักศึกษาในเครื่องแบบ 10 บาท
เปิดให้ชมกันทุกวัน ถ้าเป็นวันหยุดจะเปิดให้ชมกันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น แต่ถ้าวันธรรมดาจะเปิด 10 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น
ที่มาของป้ายนี้
การเดินทาง
จะมาเมืองสุพรรณทั้งทีต้องใช้ถนนสาย 340 ที่แยกออกจากถนนกาญจนภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอก ฝั่งตะวันตก) แถว ๆ บางบัวทอง แล้วจะได้รู้ว่าเมืองไทยก็มีถนนดี ๆ กับเขาเหมือนกัน ขนาดวิ่งช่องซ้ายก็ยังวิ่งได้เรียบไม่มีสะดุด รถก็ไม่เยอะ ขับได้สบาย ๆ เหมาะกับมาเที่ยวพักผ่อนมาก
สำหรับเส้นทางที่ออกมาที่ถนนวงแหวนก็มีกันได้หลายทาง แต่แนะนำสำหรับคนที่ใช้ทางด่วนคือให้ขับมาลงทางด่วนที่ “ ถนนงามวงศ์วาน (แคราย) ” พอลงทางด่วนมาแล้วก็ตรงไปตามทางอย่างเดียวเลย จนสุดถนนก็จะมีสะพานลอยโค้งลงมาเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก ตลอดทางจะมีป้ายชี้ไป สุพรรณบุรี เป็นระยะ ๆ ก็ขับตามป้ายไปอย่างเดียวเลย
พอแยกออกจากถนนกาญจนาภิเษก เข้าทางหลวงสาย 340 ก็ขับตรงไปตามทางอย่างเดียวไม่ต้องเลี้ยวไหน เรียกว่าขับง่ายมากเหมาะสำหรับคนที่กลัวหลงทาง ระยะทางจากที่แยกจากถนนกาญจนาภิเษก มาจนถึงทางที่ต้องเลี้ยวเข้าบึงฉวาก ก็ราว 125 กม. ระหว่างทางจะมีป้ายชี้บอกทางไปบึงฉวากเป็นระยะ ๆ ป้ายใหญ่โตชัดเจนมาก
แต่มีที่ต้องระวังนิดก็คือ ระยะทางที่บอกในป้ายจะรวมระยะทาง ช่วงที่เลี้ยวแยกออกจากถนนใหญ่ ไปที่ต้องวิ่งเข้าไปอีกประมาณ 4 กม. ด้วย เพราะงั้นถ้าเห็นป้ายบอกเหลือระยะทางอีกไม่มาก ก็ต้องคอยสังเกตหน่อย เรียกว่าต้องลบออก 4 จากระยะที่บอกก็จะถึงทางเลี้ยวเข้า แล้วช่วงที่เลี้ยวเข้าจะเป็นทางโค้งด้วย ต้องระวังว่าจะขับเลยไปเสีย
ขับเข้ามาแล้วอาจจะต้องมีเลี้ยวขวา ซ้าย ขวา อีกแต่ก็มีป้ายบอกทางอยู่ชัดเจน ถ้ามาเริ่มเที่ยวที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกันก่อน ก็วิ่งต้องเลียบบึงเข้ามาเรื่อย ๆ เพราะส่วนนี้จะอยู่ด้านในสุด (ระหว่างทางก็สำรวจร้านอาหารทางขวามือไปด้วย)
พอเจอป้ายที่จอดรถก็เลี้ยวซ้ายเข้ามา ที่จอดรถตรงนี้อาจจะดูระเกะระกะสักนิด เพราะรถจะไม่ได้จอดกันเรียงกันเป็นแนว เข้าใจว่าเขาพยายามไม่ตัดต้นไม้ทิ้ง แต่ก็มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกอย่างดี
จอดรถเสร็จก็เดินเข้ามาด้านในที่ติดบึงจะมีทางเดินอยู่ ให้เดินไปทางด้านขวามือก็จะถึงทางเข้าชม
แต่ถ้าใครมาถึงแต่เช้า ตรงหน้าทางเข้าเลยจะมีลานจอดรถอยู่อีกแห่ง ให้วิ่งมาจนเจอป้ายนี้เลย (ที่จอดรถพ่วงก็จะอยู่ฝั่งตรงข้ามกันป้ายนี้)
พอเลี้ยวเข้ามาด้านขวามือ จะมีลานจอดรถอยู่อีกแห่งหนึ่ง แต่ก็จอดรถได้ไม่มากนัก ส่วนห้องน้ำห้องท่าก็จะอยู่ข้าง ๆ ลานจอดตรงนี้ด้วย
Note: สำหรับบึงฉวาก
ของกินที่ไม่ควรพลาด: เฉาก๊วยชากังราว หน้าอาคารแสดงพันธ์สัตว์น้ำ
Source ข้อมูล: www.thaiweekender.com
นี่หาข้อมูลแบบดิบๆ เหรอเนี่ย….โหหหหหหหห มากมายนะเรา…
อยากกินไอติม อยากกินกล้วยหอม อยากไปเดินลอดอุโงปลา
โกรธชุดที่สั่งให้ซันคิสมันมาไม่ทัน แงๆๆ ไม่มีชุดใหม่ใส่เลย
ไปโลด.. อิอิ.. ไปไหนไปกัน..
ปล.ฝนคงไม่ตก อิอิ..
ทำไมไปคราวที่แล้วไม่ได้ ถ่ายรูป แบบนี้มาบ้าง แย่จัง..
ตื่นยังคะที่ร๊ากกก
ง่วงอ่ะ ไปปั่นงานก่อนนะจ๊ะ
เป็นไงจ๊ะ สนุกไม๊
เอารูปที่ถ่ายไว้ มาเปรียบเทียบด้วยนะครับ
d:- D