iPhone OS 3.0 Software Sneak Peak

Apple Tuesday
อีกครั้ง
กับการเปิดตัว iPhone OS 3.0 Software
เบื้องต้นจะมีเพียง SDK ออกมาให้นักพัฒนาได้ทดสอบกันก่อน
ส่วนเฟิร์มแวร์จริงๆ จะตามออกมา

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือต่างๆ ออกมามากมาย
หลายสำนักก็ว่ากันไป
ทั้งสับสนว่าจะออกเฟิร์มแวร์ใหม่มาเลยในวันนี้
(ซึ่งต่างจากการเปิดตัว แล้ว release ภายหลัง)
ไปจนถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่อาจจะตรงใจ หรือไม่ตรงใจหลายส่วน

เห็นหลายเว็บมีทั้ง “สาวก” คือปกป้อง Apple สุดขั้ว
กับ “แอนตี้” คือโวยวาย Apple สุดขั้ว
ก็ไม่อยากจะเขียนถึงหล่ะ
เดี๋ยวมีทั้งสองฝ่าย แวะเข้ามาในบล๊อคนี้

:evil::evil:

สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้มีการนำเสนอ
แต่มีการค้นพบจากการทดสอบเฟิร์มแวร์ดังกล่าว
ก็คือเรื่องภาษาไทย

เรื่องการตัดคำ ลำดับขั้นสระวรรณยุกต์
แมวดื้อรู้สึกเฉยๆ นะ เพราะไม่เคยต้องไปยุ่งเกี่ยวกับมัน
ที่ใช้งานอยู่ ไม่เคยสนใจอยู่แล้ว

เรื่อง thai localize
อันนี้บอกได้เลยว่าไม่ใช้แน่นอน

แล้วก็มาถึงเรื่องการป้อนข้อมูล
คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบที่มาจาก Apple เอง

 


แป้นพิมพ์ในแบบปกติ
แป้น Space Bar กลายเป็นคำว่า “confirm”
ไม่รู้คอนเฟิร์มตรงไหน
คือเวลาเรากดที่แป้นนี้มันเป็นช่องว่างไง ไม่ได้เป็นปุ่ม OK เสียหน่อย

 :roll::roll:

 


แป้นพิมพ์สระ วรรณยุกต์ต่างๆ
โดยการแตะที่แป้น “ไม้เอก” ที่อยู่ระหว่างแป้น International กับแป้น confirm

 


แป้นพิมพ์แบบยกแคร่

จากเลย์เอ้าท์แบบนี้
ขณะเขียนเอนทรีนี้อยู่
ยังไม่สามารถวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไป รวมถึงการปรับตัวในอนาคตได้มากนัก

คร่าวๆ
ก็คือเลย์เอ้าท์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1.แป้นพิมพ์ในแบบปกติ
ในแบบนี้ จะแสดง
* พยัญชนะ ตัวสะกด และสระ (บนบรรทัด) *
** ที่ใช้บ่อยๆ **
ซึ่งแน่นอนว่าดีแน่ๆ เพราะเราใช้บ่อย ก็แสดงมันขึ้นมาเลย
ตรงนี้มีข้อสังเกตนิดนึงตรงลักษณะเลย์เอ้าท์ในรูปแบบนี้
จะเห็นว่า ด้านซ้ายมือจะเป็นพยัญชนะต้น ส่วนด้านขวาจะเป็นอักษรควบกล้ำ
ลองดูตำแหน่งแป้น เมื่อพิมพ์คำเหล่านี้

“ความ” “พลาด” “กวาง” “ไกล” “หวาน”

หากมองในลักษณะนี้จะพบว่าหากเป็น “แก๊งนิ้วโป้ง” แบบชาวญี่ปุ่น
ที่สามารถพิมพ์เมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือบนรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วสูง
ก็จะสามารถใช้งานได้สะดวกพอสมควร คือนิ้วไม่พันกันเท่าไหร่ 

2.แป้นพิมพ์ในแบบยกแค่
ในแบบนี้ จะแสดง
* พยัญชนะ ตัวสะกด และสระ (บนบรรทัด) *
** ที่ใช้ไม่บ่อยนัก **
ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าเอาเกณฑ์อะไรมาจัด
อย่างเช่น สระโอ สระอำ ถ.ถุง ภ.สำเภา รวมถึงไม้ยมก
บางครั้งแป้นเหล่านี้ ใช้บ่อยกว่าเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม.. ก็ต้องยอมรับว่าแป้นในแบบปกตินั้นใช้มากกว่า

3.แป้นพิมพ์สระ และวรรณยุกต์
อันนี้มึนตืึบ.. เรียกว่ายังวิเคราะห์ไม่ออก
ตอนเด็กๆ เราท่องกันว่า
อะ อา อิ อี อุ อู อึ อือ
จะว่าเรียงตามนี้..ก็ไม่ใช่
จะเรียงตามวรรณยุกต์..ก็ไม่ใช่ 
หากจะว่าแบ่งเป็นสองแถว
แยกเอาแถวบนเป็นสระ วรรณยุกต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้
แล้วเอาแถวล่าง เป็นแป้นที่เราใช้งานกันบ่อยๆ
ก็มามองว่า ที่จริง เราใช้ “ไม้ไต่คู้” มากกว่า “การันต์” หรือเปล่า?
แต่ไม่เป็นไร
มามองในอีกด้านนึง
การเรียงแบบนี้ พอจะเห็นอะไรอย่างนึง
นั่นคือการแก้ปัญหา “ความสับสน” ของผู้ใช้งาน
แป้นพิมพ์ซึ่งมีขนาดเล็กอยู่แล้ว
ลองคิดดูเล่นๆ หากเราต้องการพิมพ์สิ่งที่คิดไว้แบบเร็วๆ
อาจไม่ต้องถึงกับขั้นพิมพ์สัมผัส
แต่ถ้าต้องมอง เราก็ต้องการ “สิ่งที่มองเห็นชัดเจน”
สระอิ กับ สระอี
สระอุ กับ สระอู
ไม้หันอากาศ กับ ไม้โท

หากมองในแง่นี้
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกแป้นที่ใช้บ่อยๆ
หรือว่าการคิดเลย์เอ้าท์ เพื่อลดความสับสน
ถือว่าคิดมาดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

ปัญหาเดียวที่จะเกิดขึ้น ก็คือการปรับตัว
เพราะไม่ว่าคนที่พิมพ์สัมผัสได้หรือไม่
พอมาใช้งาน ก็ต้อง “จำ” แล้วก็ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานไปพอสมควร

มาดูรูปแป้นพิมพ์ตามแนวนอนกันบ้าง

แป้บพิมพ์ สระ วรรณยุกต์ แบบแนวนอน
แทบจะทำลาย การวิเคราะห์เมื่อสักครู่นี้เลยทีเดียว
เหมือนจะเป็นการเรียงต่อกันไป แล้วจัดแป้นให้พอดีกับหน้าจอ
มากกว่าการ “จงใจ” ทำให้เป็นสองแถว

:roll: :roll:

ข้อสังเกตอีกนิงนึง
ตัว artwork ของแป้นพิมพ์สระ วรรณยุกต์ แสดงไม่เต็มพื้นที่ในส่วนแป้นพิมพ์ทั้งหมด
อันนี้ “เดา” ว่าอาจมีอะไรมากกว่าที่เห็น
เช่น
แป้น “ไม้เอก” ที่แตะเพื่อเปิดแป้นพิมพ์ สระ วรรณยุกต์นั้น
เวลาแตะไปแล้ว จะ hightlight อยู่ที่แป้น ไม้เอก เลย
จะมีความเป็นไปได้ไหม
สำหรับ recent key (last key)
หากเราแตะที่แป้น “สระอิ” ไว้สุดท้าย ตรงแป้นเพื่อเปิดแป้นพิมพ์ สระ วรรณยุกต์จะเป็น “สระอิ” ด้วย
หรือ
แตะสองครั้งที่แป้น “confirm”
อันนี้สำหรับคนที่ใช้งานแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษบนไอโฟนจะทราบกันดีอยู่แล้ว
ว่าหากเราแตะที่ space bar สองครั้งจะเหมือนกับการแตะแป้นจุด (.) ตามด้วย space bar
จะมีแบบว่า..แตะสองครั้งแล้วเป็น “ไม้เอก” เลยไหม
หรือ
แตะค้่างแล้วเลือก
อันนี้ก็แบบเดียวกับแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษบนไอโฟน
เวลาเราแตะต้องการแป้นที่อยู่ในรูปแบบตัวเลขหรือสัญลักษณ์พิเศษ
เช่นเราต้องการเครื่องหมายตกใจ
ก็เพียงแตะที่แป้น “123” ค้างไว้ แล้วลากไปยังแป้นเครื่องหมายตกใจได้
ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่า เพราะเมื่อทำเช่นนั้นแล้ว แป้นพิมพ์จะกลับมายังแบบปกติทันที

คราวนี้ หากคิดแบบนี้
ลองป้อนคำว่า “เกิด” ด้วยแป้นพิมพ์บนไอโฟนเฟิร์มแวร์ 3.0
อาจจะสะดวกก็ได้

หากไม่สะดวกก็คงหาทาง map layout ใหม่อีกหล่ะ
เหอ..เหอ
ยังไม่รู้ว่าจะทำได้ไหม
แต่คิดว่า ยังไงเสียคีย์บอร์ดที่มากับเฟิร์มแวร์เลย น่าจะทำได้เร็วกว่าโปรแกรมเสริม
อย่าง ike.. เนี่ย
ขอผ่านเลย กว่าจะเปิดขึ้นมาได้ กว่าจะเปลี่ยนภาษา กว่าจะตอบสนองเวลาพิมพ์.. เฮ่อ..

:wink::wink:

แปะรูปนี้ไว้ก่อน เผื่อนึกอะไรออกอีก

Credit:
รูปและการทดสอบ iPhone OS 3.0 beta โดยคุณ McDuck (freemac.net)
รูปเปรียบเทียบแป้นพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ โดยคุณ กั้ง (siampod.com)