Sleep Sleep

วันก่อนเจอศัพท์คำหนึ่งใน tweet
“โรคลมหลับ”
จนมาเจอความหมายดังนี้

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นอาการหลับอย่างกะทันหัน หรือ  สัปหงก (Narcolepsy)ไม่ว่านอนยังไงก็ไม่พอ จัดเป็นโรคทางจิตเวช เกิดจากความผิดปกติระบบสมอง (disease of brain)เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทส่วนหน้า (central nerverse system)อาการของโรคคือผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหลับได้ ในแต่ละวันผู้ป่วยอาจจะรู้สึกง่วงมากจนต้องหลับไปอย่างกระทันหันได้หลายๆครั้ง มักจะหลับอย่างชนิดที่ฝืนลูกตาฝืนใจเท่าไหร่ก็แก้ไม่ให้หลับไม่ได้  ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เป็นการนอนหลับตอนกลางวัน และเป็นตอนที่ตื่นอยู่  เช่น อยู่ดีๆก็หลับไปเฉยๆ นั่งก็หลับได้ กำลังพูดคุยอยู่ดีๆ ก็หลับได้  การนั่งหลับสัปหงกในเวลาเรียนบ่อยๆ อาจหมดสติไป หลับในขณะขับรถ ยืนหลับตอนโหนรถเมล์ โรคนี้ทำให้เกิดอาการ ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน อาการหลับแบบไม่ปกติ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน และมีอาการแปลกๆ ซึ่งอาจเป็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้

[ที่มา:  www.suriyothai.ac.th ]

สิ่งที่น่าสนใจตามมา
ก็คือการศึกษาเรื่องของการนอนหลับ
พบข้อมูลหลายอันที่น่าสนใจ
ข้อมูลจาก

[ที่มา: health.buddythai.com และ my.dek-d.com ]

แมวดื้อขอหยิบบางประเด็นออกมาคุยกันนะ
รายละเอียดแนะนำให้อ่านจากลิงค์ข้างต้น
เขียนเอาไว้ละเอียดอยู่แล้ว

วงจรการนอนหลับ

จากกราฟแสดงการตื่นนอนเวลา 06.00 และเข้านอนเวลา 22.00

เส้นสีแดง แสดงถึงระดับความง่วง
ง่วงที่สุดตอน 24.00 และจะค่อยๆ ลดลงจนถึงประมาณ 10.00
จากนั้นระดับความง่วงจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงพีคที่ 14.00 และจะลดลงจนถึง 20.00
และจะค่อยเพิ่มขึ้นจนสูงสุดที่ 24.00 เป็นวงจรเช่นนี้ของทุกวัน

เส้นสีดำ แสดงถึงระดับความต้องการนอน
ซึ่งก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อตื่นนอน
เมื่อได้นอน ระดับดังกล่าวก็จะค่อยๆ ลดลง

== ความเห็นแมวดื้อ ==
จากตรงนี้ เวลา 10.00 น่าจะเป็นเวลาทอง
ที่เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ระดับความง่วงลดต่ำ และความต้องการนอนก็ยังต่ำอยู่

จากกราฟ เป็นกรณีหากเราตื่นนอนเช้ากว่าปกติ มาเป็น 04.00

ระดับความง่วงของเราก็ยังคงเหมือนเดิม
แต่ระดับความต้องการนอนจะสูงกว่าปกติ
เนื่องจากความต้องการนอนจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับหลังจากตื่น

ผลของระดับความต้องการนอนสูงมาก
ส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า microsleeps
ซึ่งเป็นการหลับในช่วงสั้นๆ หรือวูบโดยไม่หลับตา
ระยะเวลาของ microsleeps คือประมาณ 2-3 วินาทีเท่านั้น
ถ้าหากคุยกับใครดึกๆ แล้วเค้าเงียบไป หรืองงว่าคุยอะไรอยู่
อาจหมายถึงเค้าอยู่ในภาวะนี้ได้
และหากภาวะนี้เกิดอย่างต่อเนื่อง อาจกลายเป็นการหลับในได้ในที่สุด

== ความเห็นแมวดื้อ ==
จากตรงนี้
ในช่วงเวลา 10.00 ก็ยังถือว่าเป็นเวลาทองอยู่เช่นเคย
เวลาที่จะมีปัญหา (จากวงจรปกติ)
กลับเป็นช่วง 20.00 จนถึงเมื่อล้มตัวลงนอนต่างหาก
ที่จะมีระดับความต้องการนอนสูงมาก (กว่าปกติ)

จากกราฟ เป็นกรณีหากเรางีบตอนประมาณ 14.00
(โดยยังคงตื่นและเข้านอนตามปกติ)

การงีบทำให้ระดับความต้องการนอนลดลง
และจะค่อยๆ สูงขึ้นเมื่อตื่น (จากงีบ)
ดังนั้นจึงอาจใช้เทคนิคการงีบนี้
ทำให้ระดับความต้องการนอนไม่สูงมากในช่วงก่อนนอน

== ความเห็นแมวดื้อ ==
จากตรงนี้
อาจเป็นทริกเล็กๆ ที่นำมาผสมผสานกัน
คือถ้าเราตื่นเช้ากว่าปกติ เราก็อาจงีบเล็กๆ
เพื่อไม่ให้ง่วงมากก่อนนอนในเวลาปกติ
หรือหากรู้ตัวว่าจะต้องตื่นดึกกว่าปกติ
ก็อาศัยงีบตอนกลางวัน ช่วยให้อยู่ดึกได้อย่างไม่ง่วงมากได้

ระยะในการหลับ

เมื่อเราทราบวงจรการนอนหลับ
จากตื่นนอนมาจนถึงนอนหลับ
ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
คราวนี้มาลองเจาะลึกถึงระยะของการนอนหลับกันดูบ้าง
เผื่อจะเป็นคำตอบให้กับหลายคนได้ว่า
ควรจะนอนกี่ชั่วโมง
หรือ
ควรจะงีบนานเท่าไหร่ดี

จากกราฟ แสดงระยะในการหลับ
แนวนอนคือระยะเวลาที่นอน
เริ่มจากเมื่อเรานอน
เราจะยังไม่หลับทันที จะเห็นได้ว่ามีระยะนิดนึงก่อนเข้า stage 1
เมื่อเราหลับแล้วก็จะเข้าสู่ stage 1-2-3-4
เรียงกันไปตามลำดับ

Stage 1
หลับตื้นๆ กล้ามเนื้อทำงานช้าลง
อาจมีกล้ามเนื้อกระตุกบ้างในบางครั้ง

Stage 2
อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจลดลง
อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงเล็กน้อย

Stage 3
เริ่มหลับลึก
สมองเริ่มส่งคลื่นเดลต้า
ซึ่งเป็นคลื่นไฟฟ้าที่สมองจะปล่อยออกมา ก็ต่อเมื่ออยู่ในระยะหลับลึกเท่านั้น

Stage 4
หลับลึกมาก
อัตราการหายใจ และการทำงานของกล้ามเนื้อจะลดต่ำมาก
สมองส่งคลื่นเดลต้าออกมา

เมื่อเรานอนหลับ ก็จะเข้าสู่ stage 1-2-3-4
จากนั้นก็จะย้อนกลับ 4-3-2-1 เป็นวงจร
แต่ก่อนที่จะเข้าวงจรในรอบต่อไป
จะมีระยะที่เรียกว่า REM (Rapid Eye Movement)
ซึ่งเป็นระยะที่มีการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
การหายใจจะอยู่ในลักษณะที่เร็วและตื้น
ระยะนี้จะช่วงที่มีการฝันเกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าในระยะ REM นั้นช่วยลดความเครียด
และทำให้จดจำบางเรื่องได้นานขึ้น
ถือได้ว่าระยะ REM นี้เป็นระยะของการ “ผ่อนคลายทางด้านจิตใจ”
ในขณะที่ stage 1-2-3-4 นั้นเป็นระยะของการ “ผ่อนคลายทางด้านร่างกาย”
ถ้าหากตื่นนอนในระยะ REM ก็จะทำให้สามารถจดจำความฝันนั้นได้ด้วย

ระยะเวลาจากเริ่มนอนจนถึงเริ่มฝัน จะได้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
เมื่อเข้าสู่วงจรนอนหลับในรอบต่อๆ ไป
stage 3-4 ของวงจรก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ

== ความเห็นแมวดื้อ ==

ย้อนกลับไปที่คำถามที่เกริ่นไว้ตอนต้น
ที่ว่า “ควรนอนกี่ชั่วโมงดี”
คำตอบก็คือ “ครบวงจรการนอน”
คือให้ตื่นในระยะ REM หรือ stage 1
วิธีการเช็คที่ง่ายทีสุด
ก็คือหากเราตื่นขึ้นมาแล้วจำได้ว่าเราฝันอะไร
(เอาเดี๋ยวนั้นตอนตื่นนะ ไม่ใช่ตื่นนานแล้วมานั่งนึกว่าฝันอะไร)
ให้รีบจดระยะเวลาเอาไว้เลยว่าเรานอนนานแค่ไหน
นั่นคือระยะเวลาที่ตกในช่วง REM
ซึ่งจะถือว่าครบวงจรการนอนพอดี
ตัวเลขที่ได้ อาจจะมีได้หลายค่า
(เพราะในการนอนหลับ 1 ตื่น มีหลายวงจรการนอน)
ดังนั้นนอนน้อย นอนมากมีผลต่อทางด้านร่างกาย
แต่นอนให้ครบวงจรการนอน มีผลต่อทางด้านจิตใจ

มาถึงคำถามที่สอง
หากเราจะงีบ ควรจะงีบนานเท่าไหร่ดี
คำตอบก็คือพยายามอย่าให้นอนหลับไปเกิน stage 2
เนื่องจากพอเข้า stage 3 สมองก็จะเริ่มส่งคลื่นเดลต้าออกมา
ในระยะนี้จะเข้าสู่การพักผ่อนของร่างกาย
หากมีการขัดขวางกระบวนการ พอตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกเหนื่อย
เหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม
ถ้าจะงีบยาวจนเข้า stage 1-2-3-4-3-2 แล้วค่อยตื่น
ก็อาจจะโดนเจ้านายเชิญไปนอนต่อที่บ้าน
ดังนั้นระยะเวลาในการงีบ ก็น่าจะไม่เกิน 45 นาที (ก่อนเข้า stage 3)

รู้แบบนี้กันแล้ว
ก็อย่าลืมไปปรับการนอน/งีบให้เหมาะสมกับแต่ละคนด้วยนะ

:lol: :lol: