Saturday petdoC
สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงเรื่องตัวเล็กๆ
แต่เป็นเรื่องไม่เล็ก
คนจุดประกายก็คือหวานใจเช่นเคย
ที่มาเล่าอาการน้องหมา (ชิวาวา) ของน้องปิ๊กให้ฟัง
ซึ่งตอนแรก แมวดื้อก็ยังไม่ได้เห็น ไม่ได้ตรวจ
จากข้อมูลที่ได้รับ “เดา” ว่าน่าจะเป็นลักษณะอาการนี้
สุนัขพันธุ์ที่มีกระโหลกเป็นลักษณะโดม
อาทิเช่น
Chihuahua, Pomeranian, Yorkshire terrier,
English bulldog, Lhasa apso, Pug, Pekingese,
Boston terrier, Maltese, toy poodle และ Cairn terrier
อาจพบความผิดปกติของกระโหลก, การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ,
ระบบประสาททำงานไม่สัมพันธ์กัน, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
หรือความผิดปกติอื่นๆ ทางด้านพันธุกรรม
สิ่งเหล่านี้อาจต้องพึงคำนึงถึง Hydrocephalus
มีผู้กล่าวไว้ว่า Hydrocephalus นั้นไม่ได้เป็นความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
แต่ความผิดปกติทางด้านโครงสร้าง อาจก่อให้เกิดปัญหา Hydrocephalus ได้
Miniature Chihuahua
ที่มีขนาดเล็ก (เปรียบเทียบกับกระป๋องน้ำอัดลม)
Hydrocephalus
Hydro หมายถึง น้ำ
Cephalus หมายถึง หัว
หากแปลกันแบบตรงตัว ก็น่าจะหมายถึงน้ำในหัว
แต่หากมันอยู่เฉยๆ มันก็คงไม่เรียกว่าผิดปกติ
ดังนั้นมันจึงเป็นภาวะที่น้ำ (ของเหลว) ภายในหัว (กระโหลก) ผิดปกติ
ทางการแพทย์ เรียกน้ำที่อยู่ในหัวนี้ว่า Cerebrospinal Fluid (CSF)
ซึ่งจะอยู่แทรกอยู่ภายในระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มสมอง ช่องว่างในสมอง
รวมถึงท่อแกนกลางของไขสันหลัง
ประโยชน์ของ CSF นั้นมีมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยปรับเรื่องความดันในสมอง, ปกป้องสมองจากการกระแทก,
คอยปรับสมดุลย์เคมีต่างๆ ภายในสมอง หรือป้องกันสมองขาดเลือด เป็นต้น
ตามปกติ CSF จะสร้างจากสมองและจะถูกขับออกจากสมองไปทางระบบเลือด
แม้ว่าจะมีประโยชน์เพียงใด แต่ก็จะไม่สามารถเก็บไว้ภายในเยื่อหุ้มสมองได้ตลอดไป
อัตราการสร้างจะสูงประมาณ 3-4 เท่าของการขับออก
ดังนั้น หากมีปัญหาไม่ว่าจะด้วยระบบโครงสร้าง หรือระบบสรีระ
ที่ทำให้ไม่สามารถขับ CSF ออกไปได้
ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า Hydrocephalus
ลักษณะอาการที่อาจพบได้เมื่อเป็น Hydrocephalus คือ
ลูกตาจะต่ำลงมา ลักษณะการมองอาจไม่สัมพันธ์กัน
มีอาการชัก กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน
เคลื่อนไหวเชื่องช้า พัฒนาการเรียนรู้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น
การรักษาที่มีรายงานไว้
หลักๆ เลยก็คือการพยายามลดการสร้าง CSF
โดยให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ร่วมกับการให้ยาขับน้ำ
แต่จะต้องคอยมอร์นิเตอร์ความสมดุลย์ของอิเล็กโทรไลท์ดีๆ
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการให้ยาลดกรด สามารถลดการสร้าง CSF ได้ด้วย
แต่ยังไม่ทราบกลไกการทำงาน
Jonah
ชิวาวา อายุ 8 เดือน ที่ได้รับการตรวจว่าเป็น Hydrocephalus
มีคำถามเกิดขึ้นว่าควรจะทำอย่างไรดี
ควรจะ put to sleep หรือผ่าตัดดี
แน่นอนว่าการผ่าตัด ย่่อมจะมีความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน
ทั้งการกระทบกระเทือนสมอง, การติดเชื้อภายหลังผ่าตัด
รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่สูงมาก
สุดท้่าย Jonah ได้รับการบริการช่วยเหลือ
การผ่าตัดเป็นผลที่ดี นับเป็นอีกเคสที่น่าศึกษาเคสหนึ่งทีเดียว
Jonah ตาเหมือนกิ๊สโม่เลยเนอะ
ขอให้กิ๊สโม่แข็งแรงๆๆๆๆ
ไม่ทราบว่าน้องผ่าตัดตอนอายุเท่าไรและปัจจุบันนี้น้องอายุเท่าไรแล้วคะ
ตอนนี้ลูกแบทแมนสุดที่รักกำลังเป้นอยู่อาการเพิ่งเกิด ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
ตอบคุณ pair98 ครับ
ไม่ทราบว่าได้พาไปให้คุณหมอได้ตรวจวินิจฉัยบ้างแล้วหรือยังครับ เบื้องต้นน่าจะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อความแน่ใจและตัดประเด็นอื่นๆ ออกไปก่อนครับ
ตอนนี้น้องอยู่ที่โรงพยาบาลสุวรรณชาติคะ(รอส่งตัวไป) โรงพยาบาลเกษตรปิดเลยยังไม่ได้แสกน์สมองอย่างละเอียด
แต่อาการน้องชัดเจนมากว่าเป็นโรคนี้ ตาน้องมองไม่เห็นแล้ว ข้างขวาใช้งานไม่ค่อยได้แล้ว ลืมบอก
ว่าน้องอายุ1ปี4เดือน อาการเพิ่งชัดเจนเมื่อวานนี้เลยคะ หมอที่สุวรรณชาติก็บอกว่ามีอยู่2วิธีคือกินยากับผ่าตัด
เลยยากจะทราบง่าน้องJonahหลังผ่าตัดมาเป็นยังไงบ้าง แล้วหมอบอกมาว่าทั้ง2วิธีก็ยึดอายุน้องได้ไม่นานต่างกันเท่าไร จริงเหรอคะ
ขอแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีศึกษาของ Jonah ซึ่งเป็นเคสของหน่วยงาน MSPCA (The Mission of the Massachusetts Society for the Prevention of Cruelty to Animals–Angell Animal Medical Center is to protect animals) ครับ
07 September 2009
Jonah ถูกพบบริเวณใกล้ๆ supermarket แห่งหนึ่ง และได้ถูกส่งตัวไปยัง MSPCA-Boston Animal Care and Adoption Center ตอนที่พบนี้ Jonah อายุประมาณ 8 เดือน และได้ถูกวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตอนที่พบ Jonah นี้ ตามีอาการมองไม่เห็นแล้วครับ
10 October 2009
คุณหมอได้ทำการตรวจด้วย MRI ยืนยันว่าเป็น hydrocephalus ในขั้นที่รุนแรง มีการอภิปรายถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งเรื่องเทคนิคในการผ่าตัดในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก อัตราการรอดชีวิตจากการผ่าตัด ปัญหาการอุดตันภายหลัง อันจะทำให้เกิดการคั่งของ CSF ขึ้นมาอีก รวมถึงปัญหาการติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ข้อสรุปมีแค่ทางเลือกที่ว่า หากไม่มีการผ่าตัดเกิดขึ้น Jonah จะเสียชีวิตแน่นอน คุณหมอจึงได้ประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆ เพื่อเปิดการรับบริจาค (ประมาณ $2500 ดอลลาร์สหรัฐ)
15 October 2009
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ยอดบริจาคก็เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย Jonah การผ่าตัดผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
26 October 2009
ทีมคุณหมอติดตามผลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมีปัญหาการอุดตัน หรือการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา ซึ่งผลก็อยู่ในลักษณะที่พึงพอใจ ไม่มีการอุดตันแต่อย่างใด
04 November 2009
ผลการติดตามอย่างต่อเนื่อง พบว่า Jonah มีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดูร่าเริง และสามารถเล่นกับสุนัขตัวอื่นที่อยู่ด้วยกันได้
12 November 2009
เนื่องจากมีการคั่งของ CSF คุณหมอจึงได้ทำการผ่าตัด Jonah เป็นครั้งที่ 2 โดยใช้เวลาเพียงแค่ 25 นาที (ครั้งแรกใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที) หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น เพียงแค่ 1 ชั่วโมง Jonah ตื่นจากการวางยาสลบ และสามารถกลับมาทานอาหารได้ทันที
24 December 2009
Jonah ถูกนำไปเลี้ยงดูในที่สุด
09 February 2010
เหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ในกลางดึก Jonah เกิดอาการชัก และเสียชีวิตลงในที่สุด
จดหมายจาก Melissa ผู้นำ Jonah ไปเลี้ยงดู
http://www.mspca.org/about-us/press-room/2010/a-letter-from-jonahs.html
จดหมายจาก MSPCA
http://www.mspca.org/about-us/press-room/2010/jonah-loses-heroic-battle-for.html
การผ่าตัดนั้นจะมีความซับซ้อนและต้องดูแลอย่างใกล้ชิดครับ รวมถึงมีความเสี่ยงในขั้นตอนการผ่าตัดค่อนข้างสูง เนื่องจากตำแหน่งของการผ่าตัด ซึ่งแนะนำคุณ pair98 ได้ร่วมพิจารณากับคุณหมอ เพื่อจะได้หาทางออกที่ดีที่สุดครับ อนึ่งโดยส่วนตัว ไม่คิดว่าการผ่าตัดเป็นหนทางสุดท้ายที่สามารถระบุชัดแจ้งเลยว่า ภายหลังการผ่าตัดแล้วจะ “หายขาด” ครับ กรณีของ Jonah เองก็ได้รับการผ่าตัดถึง 2 ครั้ง และยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่อาจคาดเดาได้ว่าเกี่ยวข้องกับภาวะที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หรือไม่ครับ
ขอบคุณมากค่ะ 😎
ตอนนี้ขอเพิ่งพาสิ่งศักด์สิทธิ์ ถ้าน้องหายจะกินเจให้เจ้ากรรมนายเวรของน้อง เฃื่อว่าต้องมีปฏิหาร