Saturday petdoC
สัปดาห์นี้มีเรื่องเบาๆ จากคำถาม-คำตอบ
ชุดคำถามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางสัตวแพทย์
แมวดื้อเห็นเรื่องนี้น่าสนใจไม่น้อย

RFID
(Radio Frequency Identification)

แม้ว่าระเบียบข้อบังคับใช้ที่ผ่านมา สร้างกระแสดังพอสมควร
เรียกว่าผู้เลี้ยงต่างก็พากันให้ความคิดเห็นกันไปต่างๆ นาๆ
บางคนถึงกับนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยตามวัด
เพื่อที่จะลดจำนวนสัตว์เลี้ยงลง อันจะนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนและฝังไมโครชิป
แต่ในที่สุด เรื่องก็เงียบไป ปัจจุบัน ผู้เลี้ยงแทบจะไม่ได้สนใจกับเรื่องดังกล่าวแล้ว
เรียกได้ว่า ไม่ได้เห็นกันในทางปฏิบัติแล้ว
(ไม่รู้ว่าตามหน่วยงาน หรือสถานพยาบาลสัตว์ที่ซื้อเครื่องมือมา จะทำอย่างไร)
ล่าสุดแมวดื้อได้รับการติดต่อจากโครงการสัตวแพทย์อาสา
เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
ฉีดวัคซีน – ทำหมัน – ฝังไมโครชิป
เลยทำให้ทราบว่ามีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่

เรื่องในวันนี้ก็คงมีประเด็นที่น่าสนใจ
ประจวบเหมาะกับสองสามวันก่อน แมวดื้อได้รับคำถามจากเจ้าของสัตว์ท่านหนึ่ง
ถามว่า หากสัตว์เลี้ยงที่ฝังไมโครชิปหายตัวไป
จะสามารถตามหาได้ไหม
ด้วยความเข้าใจผิดของเจ้าของสัตว์รายนี้
ที่คิดว่าไมโครชิปที่ฝังให้กับสัตว์เลี้ยงนั้น
เป็นเหมือนเครื่อง GPS
คือหากหายตัวไป ก็จะสามารถกดเครื่องอ่าน
แล้วดูรู้ว่าอยู่ที่ไหนได้เลย

:o :o

อันนี้ต้องขออธิบายว่า
เครื่อง GPS นั้นจะทำงานได้โดยการรับสัญญาณดาวเทียม
แต่ในไมโครชิปที่ฝังไว้ในสัตว์เลี้ยงนั้น ไม่มีกลไกหรือวงจรที่จะรับสัญญาณดาวเทียมใดๆ ทั้งสิ้น
จากชื่อ RFID (Radio Frequency Identification)
ก็หมายถึงการบ่งชี้ตัวสัตว์หรือสิ่งของด้วยระบบ “คลื่นความถี่วิทยุ” นั่นเอง

หากเปรียบเทียบจริงๆ
ไมโครชิปจะเหมือนกับหมึกล่องหนเสียมากกว่า
การฝังไมโครชิปให้กับสัตว์เลี้ยง
เหมือนกับเราเขียนป้ายบนตัวสัตว์เลี้ยง
คือหากเราเอาป้ายแขวนเอาไว้ที่ตัวสัตว์
ไม่ว่าจะห้อยคอไว้กับปลอกคอ ใส่เป็นตุ้มหู
หรืออะไรก็ตามแต่
การนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ออกจากตัวสัตว์เลี้ยงก็สามารถทำได้โดยง่าย
ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมทั้งสัตว์เลี้ยงอาจทำหล่นหาย
และการยืนยันที่แน่นอน (อาจเอาของตัวอื่นมาอ้างก็ได้)

คราวนี้จะทำยังไงล่ะ
คำตอบก็คือ งั้นก็ซ่อนเอาไว้ในตัวเค้าเลยสิ
หาก็ไม่เจอ แถมยังติดตัวไปตลอด
การค้นคว้าในเรื่องไมโครชิปก็เลยมีบทบาทตรงนี้

การค้นคว้านั้นมีตั้งแต่
การทดสอบการปฏิเสธของร่างกาย
ซึ่งตามปกติสิ่งมีชีวิตจะปฏิเสธสิ่งแปลกปลอม
การเอาอะไรเข้าไปในร่างกาย ก็จะมีการต่อต้าน หรือพยายามกำจัดทิ้งไป
นอกจากนี้ก็ยังต้องทดสอบเรื่องของตัวรับสัญญาณ
นอกจากการปฏิเสธของร่างกายแล้ว
ไมโครชิปที่เข้าไปในร่างกายสัตว์เลี้ยง
อาจมีการเคลื่อนที่ได้บ้าง
หากเกิดเข้าไปลึกๆ ตอนอ่านข้อมูลจะสามารถเข้าไปถึงได้หรือไม่
จนได้มาซึ่งไมโครชิปที่ยอมรับกันว่าทำงานได้

คราวนี้มาถึงข้อมูลกันบ้าง
หากต่างคนต่างทำรหัสข้อมูลกันเอง
ในทางปฏิบัติเมื่อจะอ่านข้อมูลก็จะไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นคนคิด
และข้อมูลนั้นตีความหมายว่าอย่างไร
สำหรับในประเทศไทย ได้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหลายหน่วยงาน
ได้ข้อกำหนดรหัสประจำตัวสัตว์จำนวน 15 หลัก ตามมาตรฐานของ ICAR
(International Committee for Animal Recording)
และ ISO 11784/11785

ข้อมูลคร่าวๆ มีดังนี้

หลักที่ 1-3 เป็นรหัสประเทศ ตาม ISO 3166 สำหรับประเทศไทยคือ 764
หลักที่ 4-5 เป็นรหัสชนิดสัตว์ โดยคณะทำงานฯ ได้กำหนดชนิดสัตว์ประเภทต่างๆ เป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มสัตว์ที่เลี้ยงเป็นเพื่อน กลุ่มสัตว์บกที่เป็นอาหาร กลุ่มสัตว์น้ำ และกลุ่มสัตว์ป่า
สำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน จะใช้รหัส 01
หลักที่ 6-7 เป็นรหัสจังหวัด ตามการกำหนดของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
สำหรับกรุงเทพมหานครจะใช้รหัส 10
หลักที่ 8-9 เป็นปีที่ขึ้นทะเบียนหรือปีเกิด โดยกำหนดเป็นปี ค.ศ. เพื่อให้เป็นสากล
หลักที่ 10-15 เป็นหมายเลขประจำตัวสัตว์ หรือประชำชุดการผลิต

ดังนั้น หากเป็นลูกสุนัขที่เกิดที่กรุงเทพฯ ปีนี้
ก็น่าจะมีรหัสประจำตัวในไมโครชิปคล้ายๆ แบบนี้

764011010xxxxxx

รู้ไว้ใช่ว่านะจ้ะ

:razz::razz: