Young programming

เมื่อวานนี้หลังจากไปซัดโฮกที่
Tohkai Japenese Restaurant
กันแล้ว
ติตี้กับแมวดื้อก็ไปดู
Fast Five (Fast & Furious 5: Rio Heist)
ที่เอ็มโพเรียม
ซึ่งแมวดื้อก็ไม่ได้เป็นแฟนภาพยนตร์ในซีรีส์นี้
ประมาณว่าดูได้ (และคุ้นว่าได้ดูแค่ 1-2 ภาคเท่านั้น)
ฮ่า..ฮ่า

มีเวลานิดหน่อย ที่จะแวะเข้าไปดูนิทรรศการที่
TCDC (Thailand Creative & Design Center)
ช่วงนี้มีเรื่องวิวัฒนาการในเรื่องของเกม
แหม… ไม่ค่อยจะได้ไปที่ TCDC สักเท่าไหร่ พอได้ไป ก็มีเรื่องที่สนใจพอดีเลย
มีเครื่องเล่นเกมเก่าๆ มาให้ย้อนรำลึกความหลังมากมาย
จะว่าไปแล้ว แมวดื้อก็เล่นเกมมาตั้งแต่เด็กๆ เลยทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็นยุคเครื่องบางๆ แบบเครื่องคิดเลข
อาทิเช่น

พนักงานดับเพลิงรับคนที่กระโดดจากตึกเพื่อหนีไฟไหม้


Fire (Nintendo, 1981)

พายเรือรับพลร่มให้รอดพ้นจากฉลาม


Parachute (Nintendo, 1981)

ดำน้ำล่าขุมทรัพย์โดยหลบปลาหมึกยักษ์


Octopus (Nintendo, 1981)

หรือ

เกมรับไข่ที่มีออกมาหลายเวอร์ชัน หลายตัวละคร
และปุ่มก็เพิ่มมาเป็น 4 ปุ่ม


Egg (Nintendo, 1981)


Micky Mouse (Nintendo, 1981)

มาจนถึงเครื่องเล่นเกมหนาขึ้น ตัวเครื่องพับได้
มีสองจอ ส่วนบังคับทางด้านล่าง
อาทิเช่น


Donkey Kong (Nintendo, 1982)


Donkey Kong II (Nintendo, 1982)

Game Photo Credit: http://www.handheld.remakes.org/online.php

จำได้ลางๆ ว่าไม่ได้มีทุกเกม
แต่เพื่อนๆ จะมีกันคนละเกมสองเกม
ตอนเย็นๆ หลังเลิกเรียนก็เอามาแลกกันเล่น

ในนิทรรศการก็มีเครื่องเกมเหล่านี้บ้าง
แต่ไม่มากนัก เน้นที่เครื่องเล่นเกมและเทคโนโลยีใหม่ๆ
อันที่แมวดื้อมาสะดุดตา สะดุดใจก็คงเป็นอันนี้


MX-15 (Casio, 1984)

เจ้าตัวนี้ออกมาในช่วงไล่เลี่ยกับ Nintendo Family Computer (1983)
หรือที่เราคุ้นเคยเรียกกันว่า “Famicom”
ตอนที่ Famicom ออกในช่วงแรกนั้น นอกจากจะมีเกมออกอย่างต่อเนื่องแล้ว
ก็มี Family Basic ซึ่งจะเป็นลักษณะคล้ายตลับเกมของ Famicom แต่ว่าจะเป็นสีดำ และใหญ่ (สูง) กว่า
ในชุดจะขายพร้อมคีย์บอร์ดมาด้วย
Family Basic ที่ว่านี้ เอาง่ายๆ ก็คือโปรแกรมภาษาเบสิค
ที่เปิดโอากาสให้ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรมหรือเกมเล็กๆ
เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็สามารถบันทึกลงในเทปคาสเซ็ท
จำได้ว่าตอนนั้นท่านแม่ซื้อ Famicom พร้อมเกมมาให้ 3 เกม
แต่แมวดื้อไปให้ความสนใจ Family Basic มากกว่า
การใช้งานมันค่อนข้างจะซับซ้อน
บ่อยครั้งที่เซฟจะหาย จนทำให้ต้องจดและพิมพ์คำสั่งต่างๆ เข้าไปใหม่

พอ MX-15 เข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย
และแมวดื้อมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ
แมวดื้อก็ใช้ความสามารถในการเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งเป็นหลัก
มากกว่าการเปิดเครื่องเล่นเกม (สามารถนำตลับเกมของ Famicom มาเสียบเล่นได้)

ถือเป็นฉากเริ่มต้นของการไม่ติดทีวีของแมวดื้อเลยก็ว่าได้
ตอนอายุ 8 ขวบ (1982) ก็เริ่มหัดเล่นกีต้าร์ จับเครื่องเสียงมากกว่าทีวี
ตอนอายุ 9 ขวบ ท่านแม่ก็ส่งไปเรียนอิเล็คโทนกับเปียโน ว่างก็ซ้อมดนตรีอยู่ที่สยามกลการ
พออายุ 10 ขวบ ทีวีก็ไม่ได้ใช้งานตามปกติ เพราะเอามาต่อกับ Famicom / MX-15
จำได้ว่า ตอนแรกเขียนโปรแกรมจากการพิมพ์คำสั่งตามหนังสือ
โดยที่ไม่ค่อยเข้าใจมากนัก
เพียงแค่จำได้ว่าคำสั่งนี้ใช้ทำอะไรแค่นั้น
แต่ก็วางแผนจนได้อย่างที่ต้องการมาหลายโปรแกรม

น่าแปลกที่สิ่งแวดล้อมหรือโอกาสในวัยเยาว์
ส่งผลทำให้หลายสิ่งหลายอย่าง วนเวียนติดตัวเราไป
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
กลายเป็นทั้งความสนใจและทักษะไปพร้อมๆ กัน

:cool::cool: