วันนี้ได้ tweet ถามชาวทวิตเตอร์
เรื่อง “การใช้แก้ว”
ว่าตามปกติใช้แก้วแยกประเภทกันหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น
แก้วน้ำ (เปล่า), แก้วน้ำอัดลม, แก้วชา/กาแฟ
คำตอบที่เพื่อนๆ ได้ tweet กลับมา
แบ่งกว้างๆ เป็นสองกลุ่ม
ก็คือกลุ่มที่ใช้แก้วแยกตามเครื่องดื่ม
และกลุ่มที่ใช้แก้วใส่ทุกอย่าง
ในกลุ่มแรก ที่ใช้แก้วแยกเฉพาะตามเครื่องดื่ม
ให้เหตุผล เรื่องความสะอาด คราบ และ กลิ่น
สำหรับคนที่ดื่มชากาแฟอยู่เสมอ
จะทราบกันดีว่า
คราบ ชา กาแฟที่ติดอยู่บนแก้ว (ถ้วย) กาแฟนั้นจะฝังแน่น
หรือหากรีบล้างทันที เมื่อดื่ม (จิบ) หมดแล้ว
แม้ว่าจะชะลอการฝังตัวของคราบดังกล่าว ได้ในระดับหนึ่ง
แต่พอใช้แก้วไปสักระยะ ก็อาจจะเห็นคราบเหลืองเกาะที่ก้นแก้วได้อยู่ดี
ประเด็นนี้พอจะเข้าใจได้
สำหรับผู้ที่มีประสาทรับกลิ่นไวกว่าคนปกติ
นอกจากจะเห็นคราบแล้วยังได้กลิ่นที่ฝังแน่นอีกด้วย
ในขณะที่อีกกลุ่มนึง
ใช้แก้วใส่สารพัดอย่าง
ได้แม้กระทั่ง “บะหมี่สำเร็จรูป” หรือแกงที่เป็นของคาว
อันนี้ ข้อแม้สำคัญก็คือ
จะต้องล้างแก้วให้สะอาดและแห้ง ก่อนนำมาใช้เสมอ
ส่วนประเด็น ใช้แก้วแยกประเภทไม่ค่อยสนใจเท่าใดนัก
ส่งผลให้แตกประเด็นต่อมา
ก็คือ หากตัดเรื่องความสะอาด คราบ กลิ่น ออกไปแล้ว
อนุมานว่าเป็นแก้วใบใหม่เอี่ยม
เราจะเอาแก้วน้ำไปใส่ซุปข้าวโพด
เราจะเอาแก้วกาแฟไปใส่น้ำปั่น
เราเอาแก้วเบียร์ไปใส่กาแฟ
หรือไม่
มองเผินๆ
ก็ไม่เห็นจะเป็นเรื่องผิดแต่อย่างใด
หากแต่การเรียนรู้ของคนเราเสียมากกว่า
ถ้าอยู่ในสังคมที่ใช้ “จอก” เป็นส่วนใหญ่
จะใช้จอกใส่สมูธตี้ ก็คงไม่แปลกอะไร
แต่หากมองลึกๆ แล้ว
การที่มีลักษณะแก้วแตกต่างกันออกไป
ไม่น่าจะใช่เพียงเพราะเรื่องวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว
อาจมีเรื่องวิทยาศาสตร์ คหกรรม ชีววิทยา (อ้าว..ไม่ใช่แล้ว)
เข้ามาเกี่ยวข้อง
อย่างแก้วกาแฟ
เราอาจเห็นเป็นแก้วเตี้ยๆ ออกแนวกว้างนิดนึง
ประการแรกด้วยปริมาณ
ชา กาแฟ ใช้วิธี “จิบ” เป็นส่วนใหญ่
ถ้า กระดก กรึ๊บๆ แบบนั้นไม่ได้รสชาด และความหอม
แก้วขนาดเล็ก จึงถูกเลือกมาใช้
และสาเหตุที่ใช้แก้วที่มีความกว้าง
นั่นน่าจะเป็นเพราะเรื่องกลิ่น
แก้วกาแฟที่กว้าง จะทำให้ส่งกลิ่นออกไปได้บริเวณกว้างกว่า
นอกจากรูปร่าง รูปทรงแล้ว
วัสดุที่นำมาใช้ ก็น่าจะมีผลเช่นเดียวกัน
แก้ว เซรามิค กระเบื้อง สแตนเลส
น่าจะมีความสามารถในการเก็บความร้อน ความเย็นแตกต่างกันออกไป
== เอนทรีนี้เขียนด้วยความเข้าใจส่วนตัว ==
ยังไม่ได้ค้นคว้า หาข้อมูลเพิ่มเติม
ดังนั้น จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้
แต่ประเด็นนี้ มีความน่าสนใจอย่างมาก
หากได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วจะเขียนถึงอีกครั้ง
Enjoy your cup
🙂 น่าจะมีไว้เก็บสะสมนะครับ