Brand Royalty

วันนี้คิดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา
เหตุมาจากหวานใจ
ซึ่งคงไม่ขอพูดถึงรายละเอียด
ปัญหาเกิดมา.. ก็ต้องแก้กันไป
หวานใจ.. สู้..สู้

 :lol::lol:

ความ “ศรัทธา” ในตัวสินค้า มันอยู่ที่ตรงไหน
มันอยู่ที่ “ชื่อ” – ความมีชื่อเสียง
มันอยู่ใน “คุณภาพ”
หรือมันอยู่ใน “สิ่งที่คนผลิตอยากให้เป็น”

สำหรับ ความมีชื่อเสียง และ คุณภาพนั้น
มันก็เรื่องปกติสามัญ ที่ใครๆ ก็เข้าใจกันดี
มีชื่อเสียงโด่งดัง คุณภาพดี บอกต่อๆ กันมา
ใครก็อยากจะลองใช้สินค้าเหล่านั้น
ตรงนี้เป็น “ความอยาก” ก่อนนะ
เรื่องถูกใจหรือไม่ นั่นอีกเรื่องนึง
อย่างน้อย แรงจูงใจ เล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการ “ศรัทธา” ได้เป็นอย่างดี

คราวนี้มาคุยกันถึงเรื่อง
“สิ่งที่คนผลิตอยากให้เป็น” กันบ้าง
ซึ่งออกจะเป็นเรื่องซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มีหลายประเด็น
สินค้าหลายอย่าง ถูกกำหนดให้มันเป็นอย่างที่คนผลิตต้องการ

เช่น
เราซื้อ “กระดาษเช็ดหน้า” แต่เราเอาไป “เช็ดก้น”
ถามว่าผิดไหม
..ไม่ผิด..
เราซื้อมาใช้ เราจะใช้เช็ดอะไรก็ได้
แต่เราไม่สามารถเดินเข้าไปในร้านค้า บอกขอซื้อ “กระดาษเช็ดก้น”
แล้วหวังให้พนักงานหยิบ “กระดาษเช็ดหน้า” มาให้ได้
เพราะมันเป็น brand
ซึ่งหลาย brand นั้นมีความซับซ้อนมากกว่านั้น
เช่น รถยี่ห้อหรู ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นแทกซี่ เป็นต้น
(ถึงแม้ เราจะซื้อมาด้วยเงินของเราก็ตาม)
เราชอบ เราศรัทธาในยี่ห้อ แต่เราเอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ 

:cool::cool:

เมื่อเวลาผ่านไป
ข้อกำหนดของ brand ทำให้เกิด
“ความ..ไม่ศรัทธา”
brand royalty ก็จะหายไป